หน้าต่างของโปรแกรม Microsoft Excel 2010 นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่หลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
ส่วนประกอบของโปรแกรม
1. แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรม และรายชื่อไฟล์ที่ได้เปิดใช้งาน
2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
3. ปุ่ม แฟ้ม (File) = เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเก็บคำสั่งการทำงานในโปรแกรม เช่น New Open, Save และคำสั่ง Print เป็นต้น
4. ปุ่มควบคุม = เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการเปิด หรือปิดหน้าต่างโปรแกรม
5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
6. พื้นที่การทำงาน = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ขั้นภายในเอกสาร
7. แถบสถานะ (Status Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงจำนวนหน้ากระดาษ และจำนวนตัวอักษรที่ใช้ในเอกสาร
8. Name Box = เป็นช่องที่ใช้แสดงชื่อเซล์ที่ใช้งานอยู่ในขณะนั้น เช่น ถ้ามีการใช้งานข้อมูลในเซลล์ A1 รายชื่อเซลล์นี้ก็จะไปแสดงอยู่ในช่อง Name Box
9. แถบสูตร (Formula Bar) = เป็นช่องที่ใช้แสดงการใช้งานสูตรการคำนวณต่าง ๆ
10. เซลล์ (Cell) = เป็นช่องตารางที่ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งช่องเซลล์แต่ละช่องนั้นจะมีชื่อเรียกตามตำแหน่งแถว และคอลัมน์ที่แสดงตำแหน่งของเซลล์ เช่น เซลล์ B1 จะอยู่ใน คอลัมน์ B ในแถวที่ 1 เป็นต้น
11. คอลัมน์ (Column) = เป็นช่องเซลล์ที่เรียงกันในแนวตั้งของแผ่นงาน (Worksheet)
12. แถว (Row) = เป็นช่องเซลล์ที่เรียงกันในแนวนอนของแผ่นงาน
13. Sheet Tab = เป็นแถบที่ใช้แสดงจำนวนแผ่นงานที่เปิดขึ้นมาใช้งาน
การสร้างสมุดงาน ใน Excel 2010 |
เมื่อเปิดโปรแกรม Excel 2010 ขึ้นมาใช้งานครั้งแรกนั้น จะเห็นได้ว่ามีสมุดงานขึ้นมาใช้งาน 1 ไฟล์ และในแต่ละสมุดงานนั้น ก็จะมีแผ่นงานให้ใช้งานได้ถึง 3 แผ่น แต่นอกจากสมุดงานที่โปรแกรมกำหนดให้มานั้น หากเราต้องการสร้างสมุดงานใหม่มาใช้ ก็สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 การสร้างสมุดงาน (Workbook) โดยทั่วไป
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก สมุดงานเปล่า (Blank Workbook)
3. คลิกเลือก สร้าง (Create)
วิธีที่ 2 การสร้างสมุดงาน (Workbook) จาก Template
เป็นการสร้าง Workbook ขึ้นมาใช้งานจากรูปแบบ Workbook ที่มีอยู่ในโปรแกรม ซึ่ง Workbook ใหม่ที่สร้างขึ้นมาก็จะมีลักษณะเหมือนต้นแบบที่ได้เลือกไว้ทุกประการ ซึ่งทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก ตัวอย่างแม่แบบ (Sample templates)
3. คลิกเลือกสมุดงานที่ต้องการ
4. คลิกปุ่ม สร้าง (Create)
5. สมุดงานจะถูกสร้างขึ้นมาจากแม่แบบตามที่เลือก
การบันทึกสมุดงานเป็นไฟล์ 97-2003 ใน Excel 2010 |
หากต้องการนำไฟล์สมุดงานไปเปิดในคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีโปรแกรม Excel 2010 หรืออาจจะมีโปรแกรม Excel ในเวอร์ชันที่ต่ำกว่า ก็ต้องบันทึกสมุดงานให้อยู่ในรูปของไฟล์ 97-2003 เสียก่อน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
วิธีการบันทึกสมุดงานให้อ่านได้ใน Excel 97-2003
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > บันทึกเป็น (Save As)
2. เลือกสถานที่จัดเก็บสมุดงาน
3. กำหนดชื่อไฟล์สมุดงาน
4. กำหนดชนิดของไฟล์ให้เป็น Excel 97-2003 Workbook
5. คลิกปุ่ม Save
การกำหนดขนาดหน้ากระดาษสมุดงาน ใน Excel 2010 |
เราสามารถกำหนดขนาดหน้ากระดาษของสมุดงานที่สร้างขึ้นมาได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
วิธีการกำหนดขนาดหน้ากระดาษ ตามที่โปรแกรมกำหนดมาให้
1. คลิกแท็บ เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout)
2. คลิกเลือก ขนาด (Size) แล้วเลือกขนาดกระดาษที่ต้องการ
3. จะได้ขนาดหน้ากระดาษของสมุดงานตามที่กำหนด
การแทรกแถวและคอลัมน์ใน Excel 2010 |
การแทรกแถวใหม่ลงไปในตาราง ก็สามารถทำได้ดังนี้
วิธีการแทรกแถว
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแทรกแถว
2. คลิกเลือก แทรก (Insert) > แทรกแถวในแผ่นงาน (Insert Sheet Rows)
3. แถวใหม่ก็จะถูกแทรกขึ้นมา
วิธีการแทรกคอลัมน์
การแทรกคอลัมน์ใหม่ลงไปในตาราง สามารถทำได้ดังนี้
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแทรกคอลัมน์
2. คลิกเลือก แทรก (Insert) > แทรกคอลัมน์ในแผ่นงาน (Insert Sheet Columns)
3. คอลัมน์ใหม่ก็จะถูกแทรกขึ้นมา
การลบแถว และ คอลัมน์ ใน Excel 2010 |
การลบแถว
การลบแถวออกไปจากหน้าแผ่นงานทำได้โดย
1. เลือกแถวที่ต้องการลบ
2. เลือก ลบ (Delete) > ลบแถวในแผ่นงาน (Delete Sheet Rows)
3. แถวที่เลือกไว้ก็จะถูกลบออกไป
การลบคอลัมน์
การลบคอลัมน์ออกไปจากหน้าแผ่นงานทำได้โดย
1. เลือกคอลัมน์ที่ต้องการลบ
2. เลือก ลบ (Delete) > ลบคอลัมน์ในแผ่นงาน (Delete Sheet Columns)
3. คอลัมน์ที่เลือกไว้ก็จะถูกลบออกไป
การปรับขนาดแถว และคอลัมน์ในแผ่นงานของ Excel 2010 |
การปรับขนาดแถว และคอลัมน์ในแผ่นงาน สามารถทำได้หลายลักษณะด้วยกัน คือ
วิธีการปรับความกว้างของคอลัมน์
1. คลิกเมาส์บริเวณเส้นแบ่งคอลัมน์
2. คลิกลากเมาส์ปรับความกว้างของคอลัมน์
3. คอลัมน์จะมีความกว้างตามที่กำหนด
วิธีการปรับความสูงของแถว
1. คลิกเมาส์บริเวณเส้นแบ่งแถว
2. คลิกลากเมาส์ปรับความสูงของแถว
3. แถวจะมีความสูงตามที่กำหนด
|
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น